ตัวทำละลาย เป็นหนึ่งในสารที่ใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ และมักพบได้ทั่วไปในบริเวณที่ทำงานหลายๆ แห่ง โดยทั่วไป ตัวทำละลายมีทั้งชนิดที่มีอันตรายและไม่มีอันตราย ซึ่งก่อนเริ่มใช้งานควรศึกษาและหาความรู้ก่อน ในบทความนี้ Twin Chemicals จะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าตัวทำละลายคืออะไร ประเภทของตัวทำละลาย ประโยชน์ของตัวทำละลาย และคำแนะนำในการใช้ตัวทำละลาย
ตัวทำละลาย คืออะไร
ตัวทำละลาย (Solvents) คือ สารเคมีที่ใช้ทำละลายสารตัวอื่นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามต้องการ มักมีสถานะเป็นของเหลว ตัวทำละลายอาจเป็นสารอันตรายหรือไม่อันตรายก็ได้ ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบ เพราะตัวทำละลายสามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่น การทำความสะอาด การขจัดคราบฝังลึกในชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือการเคลือบผิวกับวัสดุอื่นๆ เป็นต้น
ประเภทของตัวทำละลาย
ตัวทำละลาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ตัวทำละลายมีขั้ว และตัวทำละลายไม่มีขั้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
ตัวทำละลายมีขั้ว (Polar Solvents)
ตัวทำละลายมีขั้ว หมายถึง ตัวทำละลายที่โมเลกุลมีการกระจายประจุไฟฟ้าที่ไม่สมดุลหรือต่างกัน (คือ การกระจายตัวของขั้วบวกและขั้วลบต่างกัน หรือไม่เท่ากัน) ทำให้มีด้านหนึ่งของโมเลกุลมีประจุบวกและอีกด้านหนึ่งมีประจุลบอย่างเด่นชัด จึงทำให้เป็นตัวละลายที่มีขั้ว ตัวอย่างเช่น น้ำ (H2O) ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนที่มีประจุไฟฟ้าบวก และออกซิเจนที่มีประจุไฟฟ้าลบ เมื่อไฮโดรเจนและออกซิเจนรวมตัวกันเกิดเป็นน้ำ ทำให้มีประจุไฟฟ้าทั้ง 2 ชนิดที่ต่างกัน ทำให้น้ำเป็นตัวทำละลายที่มีขั้ว
-
ตัวทำละลายไม่มีขั้ว (Non-Polar Solvents)
ตัวทำละลายไม่มีขั้ว หมายถึง ตัวทำละลายที่โมเลกุลมีการกระจายประจุไฟฟ้าที่สมดุลหรือเท่ากัน (คือ การกระจายตัวของขั้วบวกและขั้วลบเท่ากัน) ไม่มีด้านใดที่มีประจุบวกหรือประจุลบแตกต่างอย่างเห็นเด่นชัด จึงทำให้เป็นตัวทำละลายไม่มีขั้ว ตัวอย่างเช่น ตัวทำละลายประเภทน้ำมันไฮโดรคาร์บอน เช่น เฮกเซน ซึ่งใช้ในการละลายสารตกค้าง มีโมเลกุลที่มีการกระจายประจุไฟฟ้าที่สมดุล ไม่มีความต่างอย่างเด่นชัดของประจุบวกและประจุลบ จึงเป็นตัวทำละลายไม่มีขั้ว
หลักการ “Like Dissolves Like”
Like Dissovles Like คือ หลักการที่ว่าสารมีขั้วก็จะละลายได้ด้วยตัวทำละลายมีขั้ว (Polar Solvents) ส่วนสารที่ไม่มีขั้วก็จะถูกละลายได้ด้วยตัวทำละลายไม่มีขั้ว (Non-Polar Solvents) ดังนั้น ก่อนจะใช้ตัวทำละลายควรศึกษาก่อนว่าตัวทำละลายและตัวถูกละลายนั้นเป็นแบบมีขั้วหรือไม่มีขั้ว
ประโยชน์ของตัวทำละลาย
โดยทั่วไป นิยมใช้ตัวทำละลายในการทำความสะอาด ประกอบอาหาร ไปจนถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น น้ำ น้ำส้มสายชู หรือเอทิลแอลกอฮอล์ เป็นต้น
ในเชิงอุตสาหกรรม ตัวทำละลายถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย เช่น การทำความสะอาดคราบฝังลึกบนเครื่องจักรในโรงงาน การละลายเม็ดพลาสติกสำหรับผลิตพลาสติก การสกัดสารแต่งกลิ่น รส และสี เป็นต้น
คำแนะนำสำหรับการใช้ตัวทำละลาย
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ตัวทำละลาย ควรศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติและอันตรายของสารทำละลายก่อนลงมือปฏิบัติเพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกวิธี ก่อนใช้ตัวทำละลายควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกันการระเหยจากสารเคมี ถุงมือยาง และแว่นตานิรภัย เป็นต้น รวมถึงศึกษาข้อมูล วิธีการใช้ต่างๆ ให้ถี่ถ้วน เมื่อลงมือปฏิบัติควรทำงานในบริเวณพื้นที่ที่มีการระบายอากาศได้ดีและถ่ายเทอากาศสะดวก หลังจากดำเนินงานเรียบร้อยแล้วควรล้างมือและทำความสะอาดร่างกายทันทีเพื่อป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
วิธีการจัดเก็บและรักษาอย่างปลอดภัย
ควรเก็บรักษาตัวทำละลายไว้ในภาชนะบรรจุที่มีความเหมาะสมและปลอดภัย และเก็บในสถานที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีสิ่งปกคลุมภาชนะบรรจุให้มิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันการรั่วไหล รวมทั้งติดฉลากบอกถึงคุณสมบัติ อันตราย และข้อระมัดระวังบนภาชนะบรรจุเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้น
การเลือกซื้อตัวทำละลาย
การเลือกซื้อตัวทำละลายจำเป็นจะต้องพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ความสามารถในการละลาย
ต้องสามารถละลายสารที่ต้องการละลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสารเคมีของทั้งตัวทำละลายและสารที่ต้องการละลาย
2. ขั้วของตัวทำละลาย
ขั้วของตัวทำละลายควรตรงกับขั้วของสารที่ต้องการละลายเพื่อช่วยให้ละลายได้ดี
-
ความเป็นพิษ
ความเป็นพิษของตัวทำละลายมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องสำอาง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและผู้ปฏิบัติงาน
-
จุดเดือด
ตัวละลายบางชนิดจะทำละลายได้ดีขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น (สูงกว่าอุณหภูมิห้องปกติ) เช่น อะซิโตน ที่นิยมใช้ในการล้างคราบสิ่งตกค้างของเครื่องใช้ในห้องแล็บหรือห้องปฏิบัติการ มีจุดเดือดอยู่ที่ประมาณ 56 องศาเซลเซียส ทำให้มีอุณหภูมิสูง สามารถล้างสิ่งสกปรกได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการใช้งานที่ต้องการทำให้แห้งหรือการแยกสารโดยการระเหยของตัวทำละลาย
-
ความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ควรเลือกซื้อตัวทำละลายที่ไม่ส่งผลกระทบหรือมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีวิธีการกำจัดและควบคุมของเสียที่เหลือจากการทำละลายที่เสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่ปล่อยทิ้งลงสู่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
ความไวทางเคมี
ตัวทำละลายที่ดีไม่ควรทำปฏิกิริยากับสารอื่นที่ไม่ใช่สารที่ต้องการทำละลายที่อาจมีอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน หรือในภาชนะที่นำมาใช้ในการทำละลาย เช่น พวกสารตกค้างที่ยังหลงเหลืออยู่บนพื้นผิวหรืออุปกรณ์ภาชนะที่ใช้ในการทำละลาย ทั้งนี้เพื่อให้การละลายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด หรือไม่เกิดผลลัพธ์อันไม่พึงประสงค์
-
ความหนืด
ตัวทำละลายที่มีความหนืดต่ำจะง่ายต่อการทำให้เจือจางด้วยการผสมกับของเหลวอื่นๆ
-
ต้นทุนและความยากง่ายในการใช้งาน
ตัวทำละลายที่มีคุณภาพ ราคาประหยัด สามารถใช้งานได้ทันที เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือการใช้งานปริมาณมาก
Twin Chemicals ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตัวทำละลายคุณภาพดี
ด้วยประสบการณ์ด้านการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชำระล้างสำหรับงานอุตสาหกรรมชั้นนำระดับประเทศและโซเวนท์ยาวนานกว่า 25 ปี รวมถึงบริการผลิตเคมีภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า โดยสามารถกำหนดสูตรและค่ามาตรฐานในการผลิตเองได้ของบริษัท ทวิน เคมีคอล อินดัสเตรียล จำกัด (Twin Chemicals Industrial Co., Ltd.) เรามุ่งมั่นพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีรวมถึงคุณภาพของสินค้าไปจนถึงการบริการในทุกด้าน ทั้งยังยึดมั่นในบรรษัทภิบาลซึ่งประกอบด้วยความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และภาระรับผิดชอบ ต่อคนในองค์กร ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง หากท่านสนใจในผลิตภัณฑ์ทินเนอร์หรือต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อเราได้ที่
Website: https://twinchemicalsindustrial.com/
E-mail: info@twinchemicalsindustrial.com
Line: @twinchemicals
Call: 02-815-5092